วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2559

กลุ่มคำสั่ง data contro language

 กลุ่มคำสั่งสำหรับควบคุมข้อมูล (Data Control Language)

กลุ่มคำสั่งสำหรับควบคุมข้อมูล มี 2 คำสั่งที่สำคัญคือ
1. GRANT คือการกำหนดสิทธิในการใช้งานให้กับผู้ใช้
2. REVOKE คือการยกเลิกสิทธิการใช้งานที่กำหนดให้กับผู้ใช้งาน
รูปแบบการใช้งานของคำสั่ง GRANT และ REVOKE จะกล่าวถึงอีกครั้งในบทเรื่องการ รักษาความปลอดภัยของข้อมูล
      คำสั่งภาษา SQL แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคำสั่งคือ
1. กลุ่มคำสั่งสำหรับนิยามข้อมูล (Data Definition Language: DDL) คือกลุ่มคำสั่งที่ใช้ สำหรับกำหนดโครงสร้างของรีเลชั่น การกระทำต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างของรีเลชั่น มีคำสั่งที่ใช้คือ Create, Alter, Drop
2. กลุ่มคำสั่งสำหรับจัดการข้อมูล (Data Manipulation Language: DML) คือกลุ่มคำสั่งที่ ใช้สำหรับจัดการกับข้อมูลที่อยู่ในรีเลชั่น มีกลุ่มคำสั่งคือ SELECT, INSERT, UPDATE, DELETE
3. กลุ่มคำสั่งสำหรับควบคุมข้อมูล (Data Control Language: DCL) คือกลุ่มคำสั่งที่ใช้ สำหรับการกำหนดสิทธิการใช้งานฐานข้อมูล
1. กลุ่มคำสั่งสำหรับนิยามข้อมูล (Data Definition Language) กลุ่มคำสั่งทางสำหรับนิยามข้อมูล หรือที่นิยมเรียกว่า กลุ่มคำสั่ง DDL เป็นกลุ่มคำสั่งที่ใช้กระทำ กับโครงสร้างของข้อมูล เช่น
CREATE TABLE ใช้สำหรับการสร้างรีเลชั่น
ALTER TABLE ใช้การแก้ไขแอททริบิวต์ของรีเลชั่น เช่น เพิ่ม ลบ หรือแก้ไข
DROP TABLE ใช้สำหรับลบรีเลชั่น
CREATE VIEW ใช้สำหรับการสร้างวิว
DROP VIEW ใช้สำหรับการลบวิว
2. กลุ่มคำสั่งสำหรับจัดการข้อมูล (Data Manipulation Language)
กลุ่มคำสั่งสำหรับจัดการข้อมูล (Data Manipulation Language) หรือที่นิยมเรียกว่า กลุ่มคำสั่ง ทางด้าน DML เป็นกลุ่มคำสั่งที่ใช้จัดการกับข้อมูลที่อยู่ในรีเลชั่น ไม่สามารถกระทำกับโครงสร้างของ ฐานข้อมูลได้ ซึ่งมีอยู่ 4 คำสั่งคือ
1. INSERT เป็นคำสั่งสำหรับเพิ่มข้อมูลเข้าไปในรีเลชั่น
2. UPDATE เป็นคำสั่งสำหรับแก้ไขข้อมูลในรีเลชั่น
3. DELETE เป็นคำสั่งสำหรับลบข้อมูลในรีเลชั่น
4. SELECT เป็นคำสั่งสำหรับเรียกข้อมูลในรีเลชั่นมาแสดงผล
3. กลุ่มคำสั่งสำหรับควบคุมข้อมูล (Data Control Language) กลุ่มคำสั่งสำหรับควบคุมข้อมูล มี 2 คำสั่งที่สำคัญคือ
1 GRANT คือการกำหนดสิทธิในการใช้งานให้กับผู้ใช้
2 REVOKE คือการยกเลิกสิทธิการใช้งานที่กำหนดให้กับผู้ใช้งาน

ภาษาควบคุมข้อมูล (Data Control Language : DCL)


เป็นชุดคำสั่งที่ใช้สำหรับควบคุมสิทธิ์ของผู้ใช้ในการใช้ข้อมูล รวมทั้งส่วนที่ใช้ควบคุมการใช้งานฐานข้อมูลจากผู้ใช้หลาย ๆ คนพร้อมกัน คำสั่งที่จัดอยู่ในประเภท DCL ได้แก่ คำสั่ง GRANT, REVOKE เป็นต้น 
     1138516945 GRANT
เป็นคำสั่งเพื่อกำหนดสิทธิของการเข้าถึงข้อมูลในฐานข้อมูลว่าผู้ใช้แต่ละคน มีสิทธิกระทำการใด ๆ กับข้อมูลเช่น  เพิ่ม, ลบ,แก้ไขข้อมูลในตารางใดได้บ้างหรือกำหนดให้สามารถดูข้อมูลได้เพียงอย่าง เดียวเท่านั้น
การกำหนดสิทธิเข้าถึงข้อมูลได้แก่   การเรียกค้นข้อมูล (SELECT),  การเพิ่มข้อมูล (INSERT),  การลบข้อมูล (DELETE), และการปรับปรุงข้อมูล (UPDATE)   โดยมีรูปแบบดังนี้
3
     1138516983 REVOKE
      เป็นคำสั่งเพื่อยกเลิกสิทธิการเข้าถึงข้อมูลในฐานข้อมูล   โดยมีรูปแบบดังนี้
4

กลุ่มคำสั่ง data manipulation language

Data Manipulation Language(DML )

DML
 เป็นภาษาใช้สำหรับจัดการข้อมูลภายในฐานข้อมูล ได้แก่การเรียกค้น เพิ่ม ลบ และปรับปรุงฐานข้อมูล ภาษาจัดการข้อมูล (DML) มี ประเภทหลักๆ คือเป็นภาษาที่ผู้ใช้กำหนดโครงสร้างหรือแบบแผนในการเก็บข้อมูล เช่น กำหนดหัวข้อและลักษณะของคอลัมน์ของตารางต่าง ๆ ที่จะใช้บันทึกข้อมูล ภาษากำหนดข้อมูล จะทำให้เกิดตารางที่จะจัดเก็บข้อมูลที่สำคัญต่อการทำงานของ DBMS ขึ้นมาชุดหนึ่ง ตารางนี้มีชื่อว่า พจนานุกรมข้อมูล (data dictionary) ซึ่งระบบจัดการฐานข้อมูลจะอาศัยโครงสร้างจากแฟ้มข้อมูลนี้เสมอ เช่น ดัชนี (index) ต่าง ๆ เป็นต้น
การเรียกดูข้อมูลออกจากฐานข้อมูลจะต้องผ่านคำสั่งหรือข้อความของภาษาจัดการข้อมูลหาข้อความ ซึ่งกลุ่มของข้อความเหล่านั้นมีลักษณะเป็นการถามระบบข้อมูลเพื่อให้ระบบจัดการฐานข้อมูลหาคำตอบจากข้อมูลที่เก็บไว้และตอบกลับมา กลุ่มของข้อความเหล่านั้นเรียกว่า ภาษาคำถาม (query language) แต่โดยทั่วไปแล้วคำว่า DML และ ภาษาคำถาม จะใช้แทนกันเสมอ
เช่น
SELECT EMPLOYEE-NAME
FROM EMPLOYEE-FILE
WHERE SEX = “FEMALE” AND SALARY GREATER THAN 5000
เป็นการไปเรียกดูข้อมูลชื่อของลูกจ้างที่เป็นผู้หญิงและมีเงินเดือนมากกว่า 5,000 จากฐานข้อมูลชื่อ EMPLOYEE-FILE

ภาษาจัดการข้อมูล (Data Manipulation Language : DML )

เป็นชุดคำสั่งที่ใช้สำหรับประมวลผลหรือจัดการกับข้อมูลในฐานข้อมูล คำสั่งที่จัดอยู่ในประเภท DML
ได้แก่ คำสั่ง SELECT,  INSERT,  UPDATE,  DELETE  เป็นต้น
1138529136 SELECT
เป็นคำสั่งที่ใช้ในการเรียกค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลมาแสดงตามที่ผู้ใช้ต้องการ ในการเรียกค้นข้อมูลสามารถใช้คำสั่งได้หลายลักษณะ
ดังนี้คือ
mh_o1  การเรียกดูข้อมูลแบบไม่มีเงื่อนไข
เป็นคำสั่งที่ใช้ในการเรียกดูข้อมูลอย่างง่ายที่สุด โดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ  โดยมีรูปแบบดังนี้
a1
lh_g1  การเรียกดูข้อมูลแบบมีเงื่อนไข
เป็นคำสั่งที่ใช้การเรียกดูข้อมูลเฉพาะที่ตรงกับเงื่อนไขที่ผู้ใช้ต้องการ  โดยมีรูปแบบดังนี้
chap5_p2_2_condition_clip_image002_0000
zh_p1  การเรียกดูข้อมูลจากหลายตาราง
เป็นคำสั่งเพื่อใช้ในการเรียกดูข้อมูลจากหลายตาราง  เนื่องจากบางครั้งข้อมูลที่ต้องการอยู่ในหลาย ๆ ตาราง  ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการใช้คำสั่งเพื่อดึงข้อมูลมาจากหลายตาราง
gh_m1  การเรียกดูข้อมูลโดยใช้กลุ่มฟังก์ชัน
เป็นคำสั่งพิเศษที่มีอยู่ในภาษา SQL    ได้แก่คำสั่งต่อไปนี้
COUNT   ใช้สำหรับนับจำนวนแถวข้อมูลของคอลัมน์  ว่าในคอลัมน์นั้นมีข้อมูลจำนวนกี่แถว
SUM     ใช้สำหรับหาผลรวมข้อมูลที่เป็นตัวเลขของคอลัมน์
AVG    ใช้สำหรับหาค่าเฉลี่ยของข้อมูลที่เป็นตัวเลขของคอลัมน์
MAX    ใช้สำหรับหาค่าข้อมูลตัวเลขที่มากที่สุดของคอลัมน์
MIN     ใช้สำหรับหาค่าข้อมูลตัวเลขที่น้อยที่สุดของคอลัมน์
ฟังก์ชั่นพิเศษนี้นำไปใช้โดยใส่ไว้หลังคำสั่ง SELECT และตามด้วยคอลัมน์  เป็นการกำหนดว่าให้ฟังก์ชั่นนี้กระทำกับ คอลัมน์ใด ๆ
โดยมีรูปแบบดังนี้
45
1138529136 INSERT
     เป็นคำสั่งเพื่อเพิ่มข้อมูลเข้าไปในตาราง     โดยมีรูปแบบดังนี้
55
1138529136 UPDATE
     เป็นคำสั่งเพื่อปรับปรุงแก้ไขข้อมูลที่เคยบันทึกไว้แล้วในตาราง   โดยมีรูปแบบดังนี้
update1
1138529136 DELETE
     เป็นคำสั่งเพื่อลบแถวข้อมูลออกจากตาราง  ซึ่งจะลบข้อมูลเฉพาะที่ตรงกับเงื่อนไขที่ผู้ใช้ต้องการ     โดยมีรูปแบบดังนี้
2

กลุ่มคำสั่ง data definition language

กลุ่มคำสั่งสำหรับนิยามข้อมูล (Data Definition Language: DDL)

กลุ่มคำสั่งทางสำหรับนิยามข้อมูล หรือที่นิยมเรียกว่า กลุ่มคำสั่ง DDL เป็นกลุ่มคำสั่งที่ใช้กระทำ กับโครงสร้างของข้อมูล เช่น
CREATE TABLE     ใช้สำหรับการสร้างรีเลชั่น
ALTER TABLE      ใช้การแก้ไขแอททริบิวต์ของรีเลชั่น เช่น เพิ่ม ลบ หรือแก้ไข
DROP TABLE     ใช้สำหรับลบรีเลชั่น
CREATE VIEW     ใช้สำหรับการสร้างวิว
DROP VIEW     ใช้สำหรับการลบ CREATE INDEX     ใช้สำหรับการสร้างดัชนีให้กับรีเลชั่น
DROP INDEX     ใช้สำหรับการลบดัชนี
1) คำสั่ง CREATE TABLE
คำสั่ง CREATE TABLE เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับการสร้างรีเลชั่น การระบุชื่อของรีเลชั่น , ชื่อและประเภทข้อมูลของแอททริบิวต์ รวมถึงการกำหนดค่าคีย์ในรีเลชั่น
[DEFAULT default-value] [column-constraint]
.......... .......... .......... ..........
[PRIMARY KEY (attribute-name)],
[FOREIGN KEY (attribute-name) REFERENCES table-name]); ความหมายของรูปแบบคำสั่งกำหนดไว้ดังนี้
  • ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ ตัวหนา คือไวยากรณ์ของคำสั่ง เช่นคำว่า CREATE TABLE ซึ่งเป็นคำสั่งที่ต้องมีทุกครั้งในการสร้างรีเลชั่น (ตัวอักษร ตัวใหญ่ ตัวเล็ก ไม่มีผลกับคำสั่ง)
  • ตัวอักษรตัวพิมพ์เล็ก ตัวเอียง หมายถึงค่าต่างๆ ที่จะกำหนดเข้าไปในคำสั่ง เช่นชื่อของ รีเลชั่นที่ต้องการกำหนด คือ relation-name
  • คำสั่งที่อยู่ในเครื่องหมาย [ ] หมายถึงคำสั่งที่มีหรือไม่มีก็ได้ เช่น DEFAULT
  • เครื่องหมาย | เป็นการให้เลือกใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น NULL | NOT NULL หมายถึง ให้เลือกว่าจะใช้ NULL หรือใช้ NOT NULL relation-name      คือชื่อของรีเลชั่นที่ต้องการใช้
  • attribute-name      คือชื่อของแอททริบิวต์
  • data-type      คือชนิดข้อมูลของแอททริบิวต์
  • default-value      คือค่าเริ่มต้นที่จะกำหนดให้กับแอททริบิวต์
  • column-constraint      คือข้อกำหนดที่จะกำหนดให้กับแอททริบิวต์
  • primary key      คือการกำหนดคีย์หลักของรีเลชั่น
  • foreign key      คือการกำหนดคีย์นอกของรีเลชั่น
  • ตารางที่ 6.1 ตัวอย่างชนิดของข้อมูล (Data type)
    ชนิดข้อมูล (Data type)ความหมาย
    char (n) หรือ text (n)ตัวอักษรความยาวคงที่ จำนวนตามที่ระบุด้วย n
    Varchar(n)ตัวอักษรความยาวเปลี่ยนแปลงได้
    Int หรือ integer หรือ numberเลขจำนวนเต็ม
    floatเลขจำนวนจริง
    dateวันที่ เช่น 8/24/2010
    timeเวลา
    datetimeวันที่และเวลา
    ชื่อแอททริบิวต์ชนิดข้อมูลความหมายข้อกำหนด
    SIDChar(10)รหัสนักศึกษาPrimary Key
    SnameChar(60)ชื่อ-สกุล นักศึกษาNot Null
    MajorIntegerรหัสสาขา-
    SLevelChar(60)ชั้นปี-
    ClassIntegerห้อง-
    GPAChar(4)เกรดเฉลี่ยสะสม-
    คำสั่ง ALTER TABLE เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับการแก้ไขรีเลชั่น เช่น การเพิ่มแอททริบิวต์, ลบ, แก้ไขแอททริบิวต์ การเพิ่ม, ลบ, แก้ไข constraint
    1. เพิ่มแอททริบิวต์ โดยใช้ ADD แล้วตามด้วย ชื่อแอททริบิวต์ที่ต้องการเพิ่ม และชนิดข้อมูล
    1. ลบแอททริบิวต์ โดยใช้ DROP แล้วตามด้วยชื่อแอททริบิวต์ที่ต้องการลบ
    1. แก้ไขแอททริบิวต์โดยใช้ MODIFY ตามด้วยชื่อแอททริบิวต์ที่ต้องการแก้ไข และค่าใหม่ที่ ต้องการแก้ไข
    ตัวอย่างที่ 6.2 คำสั่งเพิ่มแอททริบิวต์ GPA ในรีเลชั่น student เพื่อเก็บค่าเกรดเฉลี่ยสะสมของนักศึกษา เขียนคำสั่งได้ดังนี้
    ALTER TABLE student ADD GPA char(4)
    ผลลัพธ์ลักษณะรีเลชั่น student ที่เพิ่มแอตทริบิวต์ GPA
    ALTER TABLE student DROP Class
    ผลลัพธ์ลักษณะรีเลชั่น student ที่ลบแอตทริบิวต์ Class ออก
    ALTER TABLE student MODIFY sname stdname char (80)
    หมายเหตุ ตัวอย่างคำสั่ง MODIFY ใช้ได้เฉพาะบางซอฟต์แวร์ฐานข้อมูล เช่น MySQL
    คำสั่ง DROP TABLE เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับการลบรีเลชั่นออกจากระบบ
    DROP TABLE relation-name
    ตัวอย่างที่ 6.5 ให้สร้างรีเลชั่นชื่อ Student2 โดยมีแอตทริบิวต์เหมือนกับรีเลชั่น student แล้วใช้คำสั่งลบรีเลชั่น student2
    DROP TABLE student2
    4) คำสั่งสร้างดัชนี CREATE INDEX
    การสร้างดัชนีหรือ INDEX คือการสร้างดัชนีในการเรียงลำดับข้อมูลในแอททริบิวต์ที่กำหนด โดยดัชนีที่สร้างขึ้นจะแยกเก็บต่างหาก จากตารางข้อมูล เพื่อให้ การค้นหาข้อมูลได้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยปกติแล้วแอททริบิวต์ที่เป็นคีย์หลัก จะมีการทำดัชนีอยู่แล้ว แต่เรา สามารถสร้างดัชนีให้กับ แอททริบิวต์อื่นได้เช่นกัน แต่การสร้างดัชนีให้กับแอททริบิวต์หลายๆ ตัว อาจทำให้การทำงาน ล่าช้าได้ เนื่องจากหากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล ดัชนีก็จะต้องทำการเรียงลำดับใหม่ ดังนั้นหากทำดัชนีให้กับ แอททริบิวต์หลายๆ ตัว ก็ย่อมต้องใช้เวลาในการเรียงลำดับใหม่มากขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการสิ้นเปลือง หน่วยความจำอีกด้วย
               ON relation-name (attribute-name [ASC | DESC][...])
    ASC | DESC คือรูปแบบการเรียงลำดับจากน้อยไปมาก (ASC) และมากไปน้อย (DESC)
    CREATE INDEX index_GPA
               ON student (GPA)
    5) คำสั่ง DROP INDEX ใช้ลบอินเด็กซ์
    DROP INDEX index-name
    ตัวอย่างที่ 6.7 คำสั่งลบ INDEX ชื่อ index_GPA
    DROP INDEX index_GPA
    6) คำสั่ง CREATE VIEW
    วิว หรือ รีเลชั่นเสมือน คือ รีเลชั่นที่สร้างมาจากรีเลชั่นหลัก คุณสมบัติของวิวจะเหมือนกับคุณ สมบัติของรีเลชั่นหลัก คือ เป็นลักษณะของตาราง 2 มิติ มีแถว กับคอลัมน์ โดยข้อมูลที่ได้ของวิว จะมาจาก รีเลชั่นหลักทั้งหมด วัตถุประสงค์ในการสร้างวิว
    การสร้างวิวโดยส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์คือ
            2. เพื่อความสะดวกในการแสดงผลตามความต้องการของผู้ใช้ จากตัวอย่างในข้อที่ ผ่านมาจะ เห็นว่า ข้อมูลนักศึกษามีหลายแอททริบิวต์ แต่การทำงานบางอย่างไม่ต้องการใช้ข้อมูลทุกแอททริบิวต์ เช่น ต้องการข้อมูลสำหรับการติดต่อนักศึกษา หากแสดงข้อมูลทั้งหมดของนักศึกษา จะทำให้เสียเวลา ในการค้นหาข้อมูลที่ต้องการ ดังนั้น จึงสร้างวิว เพื่อเก็บข้อมูลเฉพาะ รหัสนักศึกษา, ชื่อ, ที่อยู่, และ หมายเลขโทรศัพท์ของนักศึกษาเท่านั้น จะทำการเรียกดูข้อมูลสะดวกขึ้น นอกจากนี้หากต้องการข้อมูล เพื่อใช้งานด้านอื่นๆ ก็สามารถสร้างวิว โดยระบุเฉพาะแอททริบิวต์ที่ต้องการได้ คู่แข่งนั้นมีบางส่วนซ้ำซ้อนกัน (คือมีแอททริบิวต์บางตัวร่วมกันอยู่)
            1. วิวสามารถสร้างจาก รีเลชั่นเดียวหรือหลายรีเลชั่นก็ได้ โดย วิวสามารถเลือก เฉพาะบาง แอททริบิวต์ที่ต้องการจากรีเลชั่นเดียวหรือหลายๆ รีเลชั่นได้
            2. เมื่อข้อมูลในรีเลชั่นหลักมีการเปลี่ยนแปลงจะทำให้ข้อมูลในวิวเปลี่ยนแปลง ด้วย นอกจาก การเปลี่ยนแปลงข้อมูลแล้ว หากมีการลบรีเลชั่นหลัก จะทำให้วิวถูกลบตามไปด้วย แต่เราสามารถ ลบวิวได้ โดยไม่มีผลกับรีเลชั่นหลัก
            3. ในวิวที่ไม่ซับซ้อน เช่นวิวที่สร้างจากรีเลชั่นเดียว สามารถแก้ไขข้อมูลในรี เลชันหลัก ผ่าน ทางวิวได้เลย
            4. การเรียกดูข้อมูลผ่านวิว ทำได้เช่นเดียวกับรีเลชั่นหลักทุกประการ ใช้ฟังก์ชั่น การขึ้นต่อกัน D1 และ D3 สร้างเป็นรีเลชั่นเกรด และรีเลชั่นวิชาที่ลงทะเบียน ตามลำดับแล้วกำหนดให้พรอพเพอตี้ทั้งคู่รวมกันเป็นไพรมารี่ย์คีย์ของตารางTake และมีแอททริบิวต์ ของความสัมพันธ์เองก็คือ Grade
    CREATE VIEW view-name
    AS ประโยคคำสั่ง select
    ประโยคคำสั่ง select คือรูปแบบคำสั่งในการเรียกดูข้อมูลมาแสดงผล ซึ่งจะกล่าวถึงใน หัวข้อถัดไป
    CREATE VIEW Student_GPA
    AS SELECT SID,GPA FROM student
    ผลลัพธ์จากการคำสั่งดังกล่าว จะทำให้ได้ รีเลชั่นที่ชื่อว่า Student_GPA ซึ่งมีแอททริบิวต์ 2 แอททริบิวต์คือ SID และ GPA ข้อมูลทุกอย่างในรีเลชั่นนี้จะมาจากรีเลชั่นหลัก student หากมีการแก้ไข ข้อมูลในรีเลชั่น Student_GPA นี้ จะทำให้ข้อมูลในรีเลชั่น student เปลี่ยนแปลงด้วย เนื่องจากเป็นวิว ที่สร้างมาจากรีเลชั่นเดียว จะสามารถแก้ไขข้อมูลในวิว ผ่านไปยังรีเลชั่นหลักได้เลย
    DROP VIEW views-name
    ตัวอย่างที่ 6.9 คำสั่งลบ VIEW ชื่อ Student_GPA
    DROP VIEW Student_GPA

    รูปแบบคำสั่ง
    CREATE TABLE relation-name (attribute-name data-type [NULL | NOT NULL]ตัวอย่างที่ 6.1 รีเลชั่น student ดังตารางที่ 6.2 จงเขียนคำสั่งในการสร้างรีเลชั่น
    ตารางที่ 6.2 รีเลชั่น student
    เขียนคำสั่งได้ดังนี้
    CREATE TABLE student (SID char (10), Sname char (60) NOT NULL, Major integer, Level char(60), Class integer, PRIMARY KEY(SID))
    ลักษณะรีเลชั่น student ที่สร้างเสร็จ

    หมายเหตุ รูปแบบของคำสั่งในแต่ละซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล จะมีความแตกต่างกันเล็กน้อย รวมถึง ชนิดของข้อมูล ก็มีความแตกต่างกัน ดังนั้นในตัวอย่างจะใช้รูปแบบที่เป็นมาตรฐานทั่วไป
    2) คำสั่ง ALTER TABLE
    รูปแบบคำสั่ง
    ALTER TABLE relation-name ADD | DROP | MODIFY (attribute-name data-type)
    จากรูปแบบคำสั่ง ALTER TABLE สามารถเลือกการเปลี่ยนแปลงรีเลชั่นได้ 3 รูปแบบคือ

    ตัวอย่างที่ 6.3 คำสั่งลบแอททริบิวต์ Class ในรีเลชั่น student

    ตัวอย่างที่ 6.4 คำสั่งแก้ไขแอททริบิวต์ Sname ในรีเลชั่น student โดยเปลี่ยนชื่อ เป็น StdName และเปลี่ยนชนิดข้อมูลเป็น char (80)
    3) คำสั่ง DROP TABLE
    รูปแบบคำสั่ง
    รูปแบบคำสั่ง
    CREATE [UNIQUE] INDEX index-name
    UNIQUE คือการกำหนดให้ข้อมูลในแอททริบิวต์มีค่าไม่ซ้ำกัน
    ตัวอย่างที่ 6.6 การสร้างอินเด็กซ์ ชื่อ index_GPA ให้กับรีเลชั่น Student ที่แอตทริบิตส์ GPA
    รูปแบบคำสั่ง
            1. เพื่อความปลอดภัยของข้อมูล ตัวอย่างเช่น ในรีเลชั่น นักศึกษา จะมีการเก็บข้อมูล รหัส นักศึกษา, ชื่อ, ตำแหน่ง, แผนก, วันเริ่มทำงาน, เงินเดือน, วุฒิการศึกษา, ที่อยู่, เบอร์โทร, บุคคลอ้างอิง ฯลฯ ซึ่งหากผู้ใช้สามารถใช้งาน รีเลชั่นนี้ได้ ก็จะทราบข้อมูลทุกอย่าง รวมถึงแก้ไขข้อมูลที่สำคัญ เช่น เงินเดือน ดังนั้น จึงอาจทำการสร้างวิว โดยให้ผู้ใช้ เห็นข้อมูลเฉพาะ รหัสนักศึกษา, ชื่อ, ที่อยู่, เบอร์โทร เท่านั้น เป็นต้น
    คุณสมบัติของวิว
    รูปแบบคำสั่ง
    ตัวอย่างที่ 6.8 คำสั่งสร้างวิวชื่อ Student_GPA โดยเลือกแอททริบิวต์ SID และ PGA จากรีเลชั่น student
    หมายเหตุ คำสั่ง Create view ใช้ได้กับ DBMS SQL server และ MySql
    7) คำสั่ง DROP VIEW เป็นคำสั่งที่ใช้ลบ VIEW ที่ได้สร้างไว้
    รูปแบบคำสั่ง



    ภาษานิยามข้อมูล (Data Definition Language : DDL)


    เป็นชุดคำสั่งที่ใช้สำหรับกำหนดโครงสร้างของตารางในฐาน ข้อมูล  คำสั่งที่จัดอยู่ในประเภท DDL นี้
    ได้แก่ CREATE, ALTER และ DROP
    iconhanar CREATE TABLE
    เป็นคำสั่งที่ใช้ในการสร้างโครงสร้างของตาราง    โดยมีรูปแบบดังนี้
    cr_table
     ตัวอย่าง คำสั่งการสร้าง customer
    CREATE TABLEcustomer
    [customer_nochar(6)NOT NULL,
     c_namechar(10)ืNOT NULL,
     c_addresschar(20),
     c_credit_limitdecimal(7,2),
     c_current_balancedecimal(7,2)];

    h0d22 ALTER TABLE
    เป็นคำสั่งที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างตาราง   โดยมีรูปแบบดังนี้
    format
    คำสั่ง  ALTER   TABLE    สามารถใช้ในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างตารางได้  4  รูปแบบ คือ
         lh_g1 ใช้ในการเพิ่มคอลัมน์
               ตัวอย่าง   การเพิ่มคอลัมน์
    ต้องการเพิ่มคอลัมน์   e_telephone  ลงในตาราง  customer  สามารถกระทำได้โดยใช้คำสั่งดังนี้
    at1
         zh_p1 ใช้ในการเปลี่ยนแปลงขนาดความกว้างของคอลัมน์
               ตัวอย่าง   การเปลี่ยนแปลงขนาดความกว้างของคอลัมน์
    ต้องการเปลี่ยนแปลงขนาดความกว้างของคอลัมน์  c_address  จากเดิม 20  ไปเป็น 25  สามารถกระทำได้โดยใช้คำสั่งดังนี้
    at2
         5h_r1 ใช้ในการเปลี่ยนชื่อคอลัมน์
               ตัวอย่าง   การเปลี่ยนชื่อคอลัมน์  
    ต้องการเปลี่ยนชื่อคอลัมน์  จาก customer_no    ไปเป็น  c_no   สามารถกระทำได้โดยใช้คำสั่งดังนี้
    at3
         h_mm1 ใช้ในการลบคอลัมน์จากตาราง
               ตัวอย่าง   การลบคอลัมน์ออกจากตาราง
    ต้องการลบคอลัมน์   c_telephone    ออกจากตาราง    สามารถกระทำได้โดยใช้คำสั่งดังนี้
    at4
         iconhanar DROP TABLE
             เป็นคำสั่งที่ใช้ในการลบตารางออกจากฐานข้อมูล  โดยมีรูปแบบดังนี้
    dt1
              ตัวอย่าง   ต้องการลบตาราง  customer   ออกจากฐานข้อมูล
    dt2

    วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2559

    นจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2559

    นับถอยอีกเพียง 3 ปี ประเทศไทยของเราก็จะเข้าสู่ประชาคมอาเซียนแล้วนะคะสำหรับทางประเทศไทย ที่เป็น 1 ใน 5 ของประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียน ในขณะนี้ทางหน่วยงานทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ต่างก็พากันเตรียมความพร้อมเพื่อต้อนรับปีอาเซียนที่กำลังจะมาถึงนี้...

               เราในฐานะประชาชนชาวไทย ก็รับรู้ถึงความร่วมมือร่วมใจที่เตรียมตัวในการพัฒนาประเทศของเราเพื่อจับมือร่วมกับ 10  ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้สมาชิกทั้ง 10 ประเทศสามารถอยู่รวมกันได้อย่างเข็มแข็ง และมีมิตรภาพ พร้อมจูงมือกันก้าวสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน… ในวันนี้กระปุกดอทคอมก็ขอนำข้อมูลเกี่ยวกับอาเซียน และประชาคมอาเซียน มาให้ได้ทราบกันว่า การรวมตัวกันของ 10 ประเทศอาเซียน จะนำพาเราไปสู่การพัฒนาอะไรบ้าง และต้นกำเนิดของอาเซียนมีประวัติความเป็นมาอย่างไร

     ประวัติการก่อตั้งอาเซียน

               อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ  ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ซึ่งได้มีการลงนามที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และ ไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศ ประกอบด้วย

                - นายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย)
              
                - นายตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย)

                - นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์)
                - นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศสิงค์โปร์)
                - พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย)

               ทั้งนี้ ในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่าง ๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิกเมื่อ 8 มกราคม พ .ศ.2527) เวียดนาม (เป็นสมาชิกเมื่อ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2538) ประเทศลาว, ประเทศพม่า (เป็นสมาชิกเมื่อ 23 กรกฎาคม พ.ศ .2540) และประเทศกัมพูชา (เป็นสมาชิกเมื่อ 30 เมษายน พ.ศ. 2542) ทั้งนี้ ในปัจจุบันมีสมาชิกอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ


    วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งอาเซียน

              วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งอาเซียน คือ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่ง สันติภาพเสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคม และ วัฒนธรรมการกินดีอยู่ดีของประชาชนบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก โดยแบ่งออก เป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้

            1. เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และการบริหาร

            2. เพื่อส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค

            3. เพื่อเสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค

            4. เพื่อเสริมสร้างให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี

            5. เพื่อให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในรูปแบบของการฝึกอบรมและการวิจัยและส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

            6. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจนปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม

            7. เพื่อส่งเสริมความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆ และองค์การระหว่างประเทศ

    สัญลักษณ์ของอาเซียน 

             สัญลักษณ์ของอาเซียนนั้น เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้มานานตั้งแต่ก่อตั้ง ประกอบไปด้วยรูปรวงข้างสีเหลืองจำนวน 10 ต้น บน พื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลมสีขาวและสีน้ำเงิน โดยมีความหมายว่าดังนี้...

            รวงข้าว 10 ต้น หมายถึง ประเทศสมาชิก 10 ประเทศ

             สีเหลือง  หมายถึง  ความเจริญรุ่งเรือง

             สีแดง  หมายถึง  ความกล้าหาญและการมีพลวัติ

             สีขาว  หมายถึง  ความบริสุทธิ์

             สีน้ำเงิน  หมายถึง  สันติภาพและความมั่นคง
                         
     รู้จัก ธงอาเซียน และสัญลักษณ์ของอาเซียน ทั้งหมดคลิกเลย

    กฎบัตรอาเซียน

                กฎบัตรอาเซียน หรือ ASEAN Charter เรียกง่าย ๆ ก็คือ ธรรมนูญของอาเซียนที่จะวางกรอบทางกฎหมาย และโครง สร้างองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนให้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยเฉพาะวัตถุประสงค์ใหญ่ ในปี พ.ศ.2558 ที่ทั้ง 10 ประเทศจะจับมือกันขับเคลื่อนเพื่อเป็นประชาคมอาเซียน

             อย่างไรก็ตาม กฎบัตรอาเซียนดังกล่าว มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2551หลังจากที่ประเทศสมาชิกครบทั้ง 10 ประเทศ ได้ให้สัตยาบันกฎบัตร และการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม พ.ศ.2552 ที่จังหวัดเพชรบุรีเป็นการประชุมระดับผู้นำอาเซียนครั้งแรกหลังจากกฎบัตรมีผลบังคับใช้

    ประชาคมอาเซียน


            ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยความร่วมมือ 3 เสาหลัก คือ

            ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community–APSC)

             ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community–AEC)

            ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม (ASEAN Socio-Cultural Community–ASCC)

     1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community – APSC)


               มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างและธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค เพื่อให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกัน อย่างสันติสุข และสามารถแก้ไขปัญหาและความขัดแย้ง โดยสันติวิธี อาเซียนจึงได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมการเมือง และความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community Blueprint) โดยเน้นใน 3 ประการ คือ
              1.การมีกฎเกณฑ์และค่านิยมร่วมกัน ครอบคลุมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะร่วมกันทำเพื่อสร้างความเข้าใจในระบบสังคม วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ที่แตกต่างของประเทศสมาชิก ส่งเสริมพัฒนาการทางการเมืองไปในทิศทางเดียวกัน เช่น หลักการ ประชาธิปไตย การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม การต่อต้านการทุจริต การส่งเสริมหลักนิติธรรมและธรรมาภิบาล เป็นต้น

              2.ส่งเสริมความสงบสุขและรับผิดชอบร่วมกันในการรักษาความมั่นคงสำหรับประชาชนที่ครอบคลุมในทุกด้านครอบ คลุมความร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในรูปแบบเดิม มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและการระงับข้อพิพาท โดยสันติ เพื่อป้องกันสงครามและให้ประเทศสมาชิกอาเซียนอยู่ด้วยกัน โดยสงบสุขและไม่มีความหวาดระแวง และขยายความร่วมมือเพื่อ ต่อต้านภัยคุกคามรูปแบบใหม่ เช่น การต่อต้านการก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติต่าง ๆ เช่น ยาเสพติด การค้ามนุษย์ ตลอดจนการเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันและจัดการภัยพิบัติและภัยธรรมชาติ

              3.การมีพลวัตและปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก เพื่อเสริมสร้างบทบาทของอาเซียนในความร่วมมือระดับภูมิภาค เช่น  กรอบอาเซียน+3 กับจีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ตลอดจนความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งกับมิตรประเทศ และองค์การระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ

    2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Political-Security Community-AEC)

              มีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้อาเซียนมีตลาดและฐานการผลิตเดียวกันและมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน  เงินทุน  และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี อาเซียนได้จัดทำแผนงาน การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community  Blueprint) ซึ่งเป็นแผนงานบูรณาการการดำเนินงานในด้านเศรษฐกิจเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ 4 ด้าน คือ

             1.การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (single market and production base) โดยจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี และการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น

             2.การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียน โดยให้ความสำคัญกับประเด็นนโยบายที่จะช่วยส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ เช่น นโยบายการแข่งขัน การคุ้มครองผู้บริโภค สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา นโยบายภาษี และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (การเงิน การขนส่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ และพลังงาน)

             3.การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค ให้มีการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และการเสริมสร้างขีดความสามารถผ่านโครงการต่าง ๆ

             4.การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก เน้นการปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศภายนอกภูมิภาคเพื่อให้อาเซียนมีท่าทีร่วมกันอย่างชัดเจน

    3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC) 

              อาเซียนได้ตั้งเป้าเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ในปี 2558 โดยมุ่งหวังเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีสังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้านเพื่อยกระดับคุณภาพ ชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์อาเซียน (ASEAN Identity) เพื่อรองรับการเป็นประชาคมสังคม และวัฒนธรรมอาเซียน โดยได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community Blueprint)ซึ่งประกอบด้วยความร่วมมือใน 6 ด้าน ได้แก่

          1.การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

          2.การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม

          3.สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม

          4.ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม

          5.การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน

          6.การลดช่องว่างทางการพัฒนา ทั้งนี้โดยมีกลไกการดำเนินงาน ได้แก่ การประชุมรายสาขาระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส และระดับรัฐมนตรีและคณะมนตรีประชาคม สังคมและวัฒนธรรมอาเซียน

    ประเทศสมาชิกอาเซียน (ASEAN Member States)




    เนการาบรูไนดารุสซาลาม : Negara Brunei Darussalam
            การปกครอง : สมบูรณาญาสิทธิราชย์

            ประมุข : สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาเลาะห์

            เมืองหลวง : บันดาร์เสรีเบกาวัน

            ภาษาราชการ : ภาษามาเลย์, ภาษาอาหรับ

            หน่วยเงินตรา : บรูไนดอลลาร์

            เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mofat.gov.bn

     
    ราชอาณาจักรกัมพูชา : Kingom of Cambodia

             การปกครอง : ระบอบประชาธิปไตย

             ประมุข : พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี

            เมืองหลวง : กรุงพนมเปญ

             ภาษาราชการ : ภาษาเขมร

             หน่วยเงินตรา : เรียล

             เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mfaic.gov.kh


    สาธารณรัฐอินโดนีเซีย : Republic of Indonesia

             การปกครอง : ระบอบสาธารณรัฐแบบประชาธิปไตย

            ประมุข : พลโทซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน

             เมืองหลวง : กรุงจาการ์ตา

             ภาษาราชการ : ภาษาบาร์ฮาซา, ภาษาอินโดนีเซีย

             หน่วยเงินตรา : รูเปียห์

             เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.kemlu.go.id
     





     สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : The Loa People's Democratic Republic

             การปกครอง : ระบอบสังคมนิยม

             ประมุข : พลโทจูมมะลี ไซยะสอน

             เมืองหลวง : นครหลวงเวียงจันทน์

             ภาษาราชการ : ภาษาลาว

             หน่วยเงินตรา : กีบ

             เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mofa.gov.la
     


     มาเลเซีย : Malaysia
             การปกครอง : สหพันธรัฐ โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีเป็นประมุข

             ประมุข : สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านตวนกู อับดุล ฮาลิม มูอัซซอม ซาร์

             เมืองหลวง : กรุงกัวลาลัมเปอร์

             ภาษาราชการ : ภาษามาเลย์

             หน่วยเงินตรา : ริงกิต

             เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.kln.gov.my


     สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ : Republic of the Union of the Myanmar

             การปกครอง : ระบบประธานาธิบดี

             ประมุข : พลเอกเต็ง เส่ง

             เมืองหลวง : นครเนปิดอร์

             ภาษาราชการ : ภาษาพม่า

             หน่วยเงินตรา : จั๊ต

             เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mofa.gov.mm


     สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ : Republic of the Philippine

             การปกครอง : สาธารณรัฐเดี่ยวระบบประธานาธิบดี

             ประมุข : เบนิกโน อากีโน ที่ 3

             เมืองหลวง : กรุงมะลิลา

             ภาษาราชการ : ภาษาตากาล๊อก, ภาษาอังกฤษ

            หน่วยเงินตรา : เปโซ

            เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.dfa.gov.ph




     สาธารณรัฐสิงคโปร์ : Republic of Singapore

             การปกครอง : ระบบสาธารณรัฐแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุข

             ประมุข : โทนี ตัน เค็ง ยัม

             เมืองหลวง : สิงคโปร์

             ภาษาราชการ : ภาษาอังกฤษ, ภาษาจีนกลาง, ภาษามาเลย์, ภาษาทมิฬ

             หน่วยเงินตรา : ดอลล่าร์สิงคโปร์

             เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mfa.gov.sg

     ราชอาณาจักรไทย : Kingdom of Thailand
             การปกครอง : ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

             ประมุข : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

             เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร

             ภาษาราชการ : ภาษาไทย

             หน่วยเงินตรา : บาท

             เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mfa.go.th